เมนู

พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
เคารพ ไมมีความยำเกรง ในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ
สงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มี
ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์อยู่ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อม
ยังการโจทกันให้เกิดในสงฆ์ การโจทย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่
ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่
เทวดาและมนุษย์
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้ ภายในหรือ
ภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปภายใน
หรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทย์เช่นนี้ ภายใน
หรือภายนอก ในข้อนี้ เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยืดเยื้อ แห่งมูลเหตุแห่ง
การโจทย์ที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นย่อมมีด้วยอาการ
อย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไปด้วยอาการ
อย่างนี้
เป็นผู้ลบหลู่ตีเสมอท่าน ฯลฯ
เป็นผู้มีปรกติริษยา ตระหนี่ ฯลฯ
เป็นผู้อวดดี เจ้ามายา ฯลฯ
เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ
เป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุใดเป็นผู้ยึดมั่นทิฏฐิของตน มีความถือรั้น สละสิ่งที่ตนยึดมั่นได้ยาก ภิกษุนั้น
ย่อมไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความ
ยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำ
สิกขาให้บริบูรณ์ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระ
ศาสดา ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม ไม่มีความเคารพ ไม่มี
ความยำเกรงในพระสงฆ์ และไม่ทำสิกขาให้บริบูรณ์นั้น ย่อมก่อการโจทให้เกิดขึ้น
ในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อไม่เกื่อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่
ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื่อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :336 }


พระวินัยปิฎก จูฬรรค [4. สมถขันธกะ] 8. อธิกรณะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นมูลเหตุแห่งการโจทเช่นนี้ ภายใน
หรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงพยายามเพื่อละมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาป
ภายในหรือภายนอกนั้นแล ถ้าเธอทั้งหลายไม่พิจารณาเห็นมูลแห่งการโจทเช่นนี้
ภายในหรือภายนอก ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงปฏิบัติเพื่อความยือเยื้อแห่งมูลเหตุ
แห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล การละมูลแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้นแล ย่อมมีด้วย
อาการอย่างนี้ ความยืดเยื้อแห่งมูลเหตุแห่งการโจทที่เป็นบาปนั้น ย่อมมีต่อไป
ด้วยอาการอย่างนี้
มูลแห่งการโจทกัน 6 อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

อกุศลมูล 3
อกุศลมูล 3 อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมมีจิตโลภโจท ย่อมมีจิต
โกรธโจท ย่อมมีจิตหลงโจทภิกษุ ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
อกุศลมูล 3 อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

กุศลมูล 3
กุศลมูล 3 อย่าง เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีจิตไม่โลภโจท ย่อมมี
จิตไม่โกรธโจท ย่อมมีจิตไม่หลงโจท ด้วยสีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรือ
อาชีววิบัติ กุศลมูล 3 อย่างเหล่านี้ เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์

กาย
อนึ่ง กาย เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์ เป็นไฉน
ในกรณีนี้ ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีผิวพรรณน่ารังเกียจ ไม่น่าดู มีรูปร่างเล็ก มี
อาพาธมาก เป็นคนบอด ง่อย กระจอก หรืออัมพาต ภิกษุทั้งหลายย่อมโจทภิกษุนั้น
ด้วยกายใด กายนี้เป็นมูลแห่งอนุวาทาธิกรณ์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 6 หน้า :337 }